เทศกาลเก่าแก่ประจำเมืองของล้านนา ที่จะเปลี่ยนค่ำคืนให้เต็มไปด้วยแสงไฟระยิบระยับจาก ผางประทีป โคมไฟตามบ้านเรือนผสมผสานกับสีสันพืชพันธุ์จากซุ้มประตูป่า แสงเทียนจากกระทงและสะเปาตามลำน้ำซึ่งล้วนเกิดจากความศรัทธาและความนอบน้อมที่ชาวเชียงใหม่มีต่อธรรมชาติและสิ่งรอบตัว
จากตำนานที่กล่าวถึงที่มาของประเพณียี่เป็งมีอยู่หลายตำนาน เช่น หนังสือตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า ประเพณีลอยโขมด หรือลอยไฟ เป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด “ล้านนา บูชา และแสงไฟ” และ “The Lanna Light Festival” โดยสะท้อนผ่านกิจกรรมของประเพณียี่เป็งที่จะเปลี่ยนให้เชียงใหม่ให้กลายเป็นเมืองแห่งแสงไฟประดับประดาทั่วเมืองในรูปแบบล้านนาร่วมสมัย ที่มีความสร้างสรรค์ มีการสะท้อนถึงรากฐานของประเพณี เคารพบูชาต่อธรรมชาติ บรรพบุรุษ และสิ่งรอบตัว
ในปีนี้ เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ 2567 ถูกจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ โดยมีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการออกแบบเพื่อสังคม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับสมาคมการค้าวิศิษฏ์ล้านนาเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมภายในงาน เทศกาลยี่เป็งถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำเสนอคุณค่าล้านนา และความสวยงามของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อผลักดันเทศกาลยี่เป็งไปสู่การเป็นเทศกาลระดับนานาชาติสู่ “เทศกาลแห่งแสงไฟที่สะท้อนวิถีชีวิตล้านนาอย่างร่วมสมัย” เป็นหมุดหมายแห่งการเปิดฤดูกาลการท่องเที่ยวและดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงจากทั่วโลกที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเมืองและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น หลังจากผ่านสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ 2567
เทศกาลยี่เป็ง 2567
ข่าวสารยี่เป็ง 2567
กิจกรรมในเทศกาลยี่เป็ง
ภายใต้การสนับสนุนของ