หากย้อนกลับไปถึงประเพณียี่เป็งในสมัยก่อน ตามปฏิทินล้านนา ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ วันขึ้น 14 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำ แต่ในปัจจุบันมีการจัดงานคร่อมวันขึ้น 15 ค่ำเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมและชมบรรยากาศงานเทศกาลทั้งในช่วงก่อนและหลังวันพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งนอกจากจะมีการลอยกระทง แขวนโคม จุดผางประทีป ล่องสะเปา หรือตกแต่งซุ้มประตูป่าแล้ว ยังมีวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาตามแต่ละวัน
เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำหรับครอบครัว ที่พ่ออุ้ยแม่อุ้ย (ปู่-ย่า ตา-ยาย) จะเตรียมของและไปทำบุญ ส่วนเด็กๆ มักจะสนุกสนานกันในยามค่ำคืน ปัจจุบันกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจสัมผัสได้ในคนรุ่นเก่าอยู่บ้าง กลับกลายมาเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริงเป็นส่วนใหญ่
แล้วเพื่อนๆ เคยทำกิจกรรมอะไรกับครอบครัวหรือคิดถึงอะไรในวันยี่เป็งบ้าง มาแชร์กันนะ
วันขึ้น 15 ค่ำ (ตรงกับวันที่ 27 พ.ย. 2566) นำกระทงใหญ่ที่วัด และกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยน้ำ
การจุดผางประทีปมักจะจุดในช่วงหัวค่ำ นอกจากการประดับแล้ว ยังใช้เป็นจุดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนหนึ่งตามอายุของแต่ละคน ในการตั้งธัมม์หลวง หรือฟังเทศน์มหาชาติ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่นิยมทำกันมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน ช่วงเทศกาลยี่เป็งจะเห็นความสวยงามของแสงไฟจากผางประทีปอยู่แทบทุกบ้าน
การแขวนโคม ชาวล้านนานิยมแขวนโคม ที่เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ตามขื่อบนวิหาร โบสถ์ เพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้า บูชาเทพารักษ์ผู้รักษาอาคารบ้านเรือน หรือใช้ตกแต่ง เชื่อว่าเมื่อแขวนโคมแล้วประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
วันขึ้น 14 ค่ำ (ตรงกับวันที่ 26 พ.ย. 2566) พ่ออุ้ยแม่อุ้ย (ปู่-ย่า ตา-ยาย) และผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีลฟังธรรม เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
ทำบุญ และมีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้ เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน
ในคืนวันที่ 14 ค่ำเดือน 12 จะมีการคนข้าวยาคู้ กิจกรรมในเทศกาลยี่เป็งที่จัดโดยคนชุมชนช้างม่อยวัดชมพูที่มีมาช้านาน คือ “การกวนข้าวสามัคคีชุมชน การนำข้าวสารที่หุงแล้วมาผสมกวนกับถั่ว งา นำ้ผึ้ง กะทิ ให้ได้ความเหนียวและกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ซึ่งเป็นข้าวของการออมแรงออมของจากคนในชมชุม (ฮอมแรงฮอมคัว) แล้วรุ่งเช้าจะนำข้าวเหล่านี้ไปเข้าพิธีกรรมสวดมนต์จากเจ้าอาวาสของวัดชมพู เพื่อทำให้กลายเป็น “ข้าวทิพย์” ที่ใช้ถวายเป็นพุทธกุศล 49 กอง และแจกจ่ายกลับไปสู่คนในชุมชน เพื่อรับประทานเป็นศิริมงคล เป็นยา เป็นอาหาร เสริมเรื่องสุขภาพและอายุวัฒนะ”
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.finearts.go.th/chiangmaimuseum/view/21724-ประเพณียี่เป็ง
และ Chiang Mai Learning City
และในค่ำคืนยี่เป็งจะมีการจัดขบวนแห่ประกวดกระทงใหญ่ ที่มักจะเคลื่อนขบวนตั้งแต่ข่วงประตูท่าแพ มาสิ้นสุดที่ด้านหน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมความสวยงามตระการตาของการตกแต่งขบวน ในแต่ละมหาวิทยาลัยหรือองค์กรต่างๆ รวมถึงแสดงถึงความร่วมแรงร่วมใจในการสร้างสรรค์ขบวนแห่ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ตามประเพณียี่เป็ง
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.finearts.go.th/chiangmaimuseum/view/21724-ประเพณียี่เป็ง
และ Chiang Mai Learning City
เมื่อจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว จะมีการจุดดอกไม้เพลิงและเล่นบอกไฟต่างๆ ภายในวัดโดยจุดเป็นพุทธบูชา ซึ่งจะมักได้ยินเสียงประทัดหรือบอกถบก่อนแล้วในช่วงสัปดาห์ที่จะถึงยี่เป็ง
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.finearts.go.th/chiangmaimuseum/view/21724-ประเพณียี่เป็ง
และ Chiang Mai Learning City
การปล่อยโคมลอยหรือโคมไฟ ที่ในสมัยก่อนเชื่อลอยเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ใช้กำเนิดของตนบนสวรรค์ ที่เรียกว่า พ่อเกิดแม่เกิด ปัจจุบันจะมีการจำกัดพื้นที่และระยะเวลาในการลอยโคมเพื่อเลี่ยงการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด